เมษายน 27, 2023

ประดู่ … The Culture Fix

ประดู่ … The Culture Fix

เดือนเมษายนนี่ดอกประดู่กำลังออกดอกสีทองสวย ในสวนของเรานี้มีต้นประดูอยู่หลายต้น แต่ว่าประดู่คู่แรกที่ปลูกนั้น ปลูกเอาไว้ริมสระในปี 2546 หลังจากที่พ่อเสียได้ไม่กี่เดือน ปีนี้ก็เรียกว่าต้นประดู่อายุครบ 20 ปีแล้ว ต้นประดู่คู่แรกนี้ตอนมาปลูก มากับแม่ด้วย แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาจำได้หรือป่าวนะ ที่ปลูกประดู่เอาไว้ ก็เพราะว่าพ่อเป็นอดีตทหารเรือ ก็คิดว่าเขาคงจะชอบต้นประดู่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือ

ตอนนี้ประดู่คู่นั้ยังจัดว่ามีขนาดกลางๆ ไม่ใหญ่ แม้จะปลูกเอาไว้ริมสระก็ตาม เพราะว่าดินในสวนนี่เป็นดินเหนียว เวลาหน้าแล้งก็จะแข็งมาก เวลาปลูกต้นไม้ก็จะใช้เวลานานกว่าปกติสักหน่อย ปลูกประดู่คู่แรกเอาไว้สองต้น จากนั้นก็ซื้อประดู่มาปลุกอีกหลายต้น โดยตั้งใจว่าจะทำเป็นแนวรั้ว แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เพราะตอนปลูกเว้นระยะจากเสาไฟฟ้าไว้น้อยเกินไป พอต้นประดุ่โต ต้นที่อยู่ตามแนวเสาไฟก็จะโดนการไฟฟ้ามาตัดบ่อย

ประดู่นั้นเป็นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ใครเคยอ่าน Davinci Code ก็จะจำได้ว่ากล่องซึ่งซ่อนความลับเอาไว้ ที่เรียกว่าคริปเท็กซ์ (cryptex) นั้นทำมาจากไม้ rose wood หรือไม้ประดู่นั้นเอง ซึ่งก็ต้องชื่นชมคนที่แปลเป็นภาษาไทยว่าแปลได้สละสลวย แทนที่จะแปล rose wood เป็น ประดู่ กับเลือกที่จะแปลว่า ไม้กุหลาบ ซึ่งเป็นการแปลตรงจากภาษาอังกฤษแต่แฝงความหมายที่สื่อถึงความรักได้ชัดเจน เพราะไม้ประดุ่ที่เนื้อสีแดงเข้มเหมือนกลีบกุหลาบ

ไม้ประดู่นั้นเป็นต้นไม้ที่มีการลักลอบตัดกันมากที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก ซึ่งมูลค่ารวบกันนั้นสูงกว่างาช้างหรือน่อแรด เพราะความต้องการใช้ไม้ที่มีอยู่มาก โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งประดู่นั้นได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) เนื่องจากเนื้อไม้แข็งและมีสีแดงตามธรรมชาติ ในภาษาจีนกลางเรียกประดุ่ว่า หงมู่ (hong mu (红木) )

ปัจจุบันในจีนนั้นเมืองจงฉาน (Zhongshan) ในมณฑลกวางตุ้งของจีนถือเป็นเมืองหลวงของการค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ประดู ซึ่งราว 80% ของการนำเข้าไม้ประดู่ของจีน ถูกส่งมาที่เมืองนี้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไม้ประดู่กลับมาได้รับความนิยมมากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่เรียกว่า The Culture Fix ซึ่งหมายถึงการ รวมเอา วัฒนธรรม (Cultural) การสร้างสรรค์ (Creative) และอุตสาหกรรม (Industries) มาประสานกันเพื่อเป็นแรงพลักดันให้เกิดงานและรายได้ การผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและทักษะในการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการประสานวัฒนธรรมกับนวัตกรรมเข้าด้วยกันถือเป็นเครื่องมือใหม่ในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่ไม่ได้ละทิ้งคุณค่าของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งวัฒนธรรมในฐานะเครื่องมือทางเศรษฐกิจนี้ มีกุญแจสำคัญ ได้แก่ วัฒนธรรมในฐานะกลไกในการจ้างงาน (Culture as a driver of employment) วัฒนธรรมในฐานะกลไกในการผลักดันการเจริญเติบโตทางธุรกิจ (Culture as a driver of business growth) วัฒนธรรมในฐานะกลไกในการเพิ่มการบริโภค (Culture s a driver of consumption)

รัสเซียนั้นมีนิยาย เรื่องเออร์ฟิน จัส กับกองทัพทหารไม้ Urfin Jus and his wooden soldiers) แต่งโดยอเล็กซานเดอร์ โวลกอฟ (Alexander M. Volkov) เล่าถึงช่างไม้คนหนึ่งที่ชื่อเออร์ฟิน จัส เขาทำงานเป็นผู้ช่วยของแม่มดจินจีม่า (Gingema) ซึ่งเมื่อแม่มดได้เสียชีวิตลง เออร์ฟิน จัส ก็ได้ประกาศตัวเองว่าเป็นผู้สิบทอดอำนาจจากแม่มดจินจีม่า ซึ่งคนทั่วดินแดนเวทมนต์ หรือเรียกว่าเมืองมรกต (the Emerald City) ต่างก็พากันหวาดกลัว โดยที่คนทั่วไปนั้นไม่รู้ว่าเออร์ฟิน จัสไม่ได้มีอำนาจเหมือนกับแม่มดจินจีม่า

อยู่มาวันหนึ่งเออร์ฟิน จัส ได้ค้นพบกับผงวิเศษที่แม่มดทิ้งเอาไว้ ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วเขาก็พบว่ามันเป็นผงที่ทำให้สิ่งไม่มีชีวิตสามารถมีชีวิตได้ เขาจึงได้คิดแผนการณ์ที่จะสร้างกองทหารขึ้นมาจากไม้ โดยไม้ที่เขาใช้นั้นเป็นไม้ประดู่ และเรียกทหารไม้ของเขาว่า ดับโบลอม (douboloms) ซึ่งไม้ที่นำมาใช้สร้างดับโบลอมนั้นเป็นไม้ประดู่

เออร์ฟิน จัสนั้นมีความปรารถนาที่จะครอบครองเมืองมรกต แต่ว่าความพยายามของเขาต้องมีอุปสรรค เมื่อพบกับเอลลี่ สมิท (Ellie Smith) และเพื่อนๆ ของเธอ ที่ปลุกให้ชาวเมืองมรกตลุกมาต่อต้านเออร์ฟิน จัส ได้ในที่สุด … เนื้อเรื่องของเออร์ฟิน จัสกับกองทัพทหารไม้นี้คล้ายๆ กับ อลิส ในดินแดนแดนมหัศจรรย์

Yandex.Metrica